ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ทำเนียบบุคลากร
แพทย์หญิงใจทิพย์ เชื่อมไธสง

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 13 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน

[admin2]
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ

Close
:) :D :(
:o :p ;)
:| x( :~
(ตัวแสดงอารมณ์)

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



  

  หมวดหมู่ : สมุนไพร
เรื่อง : ขันทองพยาบาท (Khan thong phayabat)
โดย : admin
เข้าชม : 657
พฤหัสบดี ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ปักหมุดและแบ่งปัน
     


ขันทองพยาบาท (Khan thong phayabat)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  : Suregada multiflorum (A.Juss) Baill.
ชื่อวงศ์ (Family name)  : Euphorbiaceae
ชื่ออื่นๆ : ดูกใส ดูกหิน เข้าตาก ขันทอง ขุนทอง ขนุนดง กระดูก ดีหมี มะดูกดง มะดูกเลื่อน หมากดูก เจิง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
             ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลแก่ ผิวบางเรียบ เนื้อไม้สีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก เนื้อใบหนา และเหนียว หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบจักฟันเลื่อย ไม่มีขน มีต่อมใสๆ ขนาดเล็ก ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลือง และมีขนรูปดาว ดอกสีเขียวอมเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงซอกใบ ขนาด 0.8-1 ซม. กลิ่นหอม ช่อละ 5-10 ดอก อยู่ตรงกันข้ามกับใบ รูปหอก ตรงปลายแหลม ดอกแยกเพศ ผลเกือบกลม ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลืองออกส้ม ผลแก่เมื่อแห้งแล้วจะแตกออกตามพู มี 3 พู เมล็ดค่อนข้างกลม
สรรพคุณ  :
          ราก แก้ลม แก้ประดง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษในกระดูก รักษาน้ำเหลืองเสีย 
เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน รักษามะเร็ง รักษามะเร็งคุด เป็นยาระบาย ยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ ทำให้เหงือกแข็งแรง ทำให้ฟันทน แก้โรคตับพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมเป็นพิษ
เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้ประดงผื่นคัน แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ
Medicinal Used :
Wood : antipyretic, treatment of venereal diseases; use externally for urticarial, treatment of skin disease.
Stem bark : anthelmintic, laxative; external use as fungicide,  apply locally to strengthen gum and teeth

เอกสารอ้างอิง :
นันทวัน บุณยะประภัศร ,อรนุช โชคชัยเจริญพร. (2539). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

สมุนไพร5 อันดับล่าสุด

      ต้นจั๋ง (Lady palm) 26/มี.ค./2564
      อินทนิลน้ำ (Inthanin nām) 16/ธ.ค./2563
      การบูร (Karaboon) 16/ธ.ค./2563
      โลดทะนงแดง (Lot thanong daeng) 22/ก.ค./2562
      นมงัว (Nom Ngaw) 1/พ.ย./2561